ขอเสริมนะครับ พรบ.คอมพิวเตอร์บังคับใช้ทุกคนครับ ขอแชร์ในฐานะ ISP นะครับ ซึ่งทาง ISP จะมองลูกค้าออกเป็น 2 กลุ่ม (ว่ากันตาม พรบ. ถือว่าเป็นผู้ให้บริการประเภท ข.) คือ
1. กลุ่มลูกค้าองค์กร (หรือแยกง่ายๆ ว่าเป็นลูกค้าที่ Fix IP Address) ทาง ISP จะเก็บล็อกเป็นรูปแบบของสัญญาการให้บริการ เพราะในสัญญาการให้บริการจะระบุ IP Address ที่แจกไปลูกค้ารายนั้นๆ ซึ่งเป็นหน้าที่ของแต่ละองค์กรในการเก็บล็อกเองอีกทอดหนึ่ง (แบบเดียวกับที่คุณ นัน แจ้งเอาไว้)
2. กลุ่มลูกค้า consumer (หรือแบบ Dynamic IP Address) ทาง ISP จะเก็บได้จาก Log Authentication (หรือบนระบบ RAS ต่างๆ) ซึ่งจะระบุผู้ใช้งานได้ว่าใครเป็นคนลงทะเบียน (เอกสารที่ใช้ตอนสมัคร Internet)
*ดังนั้น ในกรณีที่เราใช้บริการ internet ตามบ้าน (พวกราคา 599 บาท) แล้วปล่อย Wireless Sharing ให้เพื่อนบ้าน (ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ) ก็ถือว่าเราเป็นผู้ให้บริการเหมือนกันนะครับ เพราะถ้าตรวจสอบจาก Log จะเข้าข่ายแบบที่ 2 นั่นก็แปลว่าเจ้าของบ้านรับผิดแทนไปครับ (ก็ดันไม่ใส่ Wireless Security เอง)
สำหรับกรณีที่ให้บริการ hosting ต่างๆ เช่น mailhosting, webhosting ก็ต้องเก็บล็อกเหมือนกัน (เข้าข่ายผู้ให้บริการประเภท ค.) ก็ต้องเก็บล็อกอย่างน้อย 90 วันเหมือนกันครับ
ปล. ผมแนบหลักเกณฑ์การเก็บล็อกมาให้ด้วย ลองอ่านดูครับ (ว่าเข้าใจหรือเปล่า)
